สิ่งที่คุณควรรู้เมื่อนำไม้อัดและไม้ MDF มาผลิตงานเฟอร์นิเจอร์ไม้​

July 15, 2020

สิ่งที่คุณควรรู้เมื่อนำไม้อัดและไม้ MDF มาผลิตงานเฟอร์นิเจอร์ไม้​

ไม้อัด
ถูกผลิตขึ้นจากเปลือกไม้ ท่อนไม้จะถูกเฉือนออกให้เป็นชั้นบาง ๆ โดยหมุนไปตามแกนนอน แผ่นไม้ที่ได้จะถูกตัดตามขนาดที่ต้องการ จากนั้นนำไปอบแห้ง, อัด, ติดกาวเชื่อมเข้าด้วยกัน, และนำไปอบที่อุณหภูมิ 140 °C (284 °F) และที่ความดัน 1.9 MPa (280 psi) เพื่อให้ได้แผ่นไม้อัด ความเรียบเนียนและความสวยงามของแผ่นไม้อัดที่ได้จะขึ้นอยู่กับเกรดของแผ่นไม้อัด

ไม้ MDF หรือแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง
เป็นไม้สังเคราะห์ที่ผลิตจากเศษเส้นใยไม้จากไม้เนื้อแข็งและไม้เนื้ออ่อนโดยใช้การใช้เครื่องแยกเส้นใยไม้ จากนั้นใช้แวกซ์และเรซิ่นทำให้เส้นใยไม้เหล่านี้ติดกัน สุดท้ายนำไปไว้ที่อุณหภูมิและความดันสูงเพื่อให้ได้ไม้ MDF ไม้ที่ได้จะมีความเรียบเนียนและไม่มีเสี้ยนไม้ แต่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับไม้อัด

ความแข็งแรง, ความทนทาน, ราคา, และการใช้งาน
ไม้ MDF ไม่ได้มีความแข็งกว่าไม้อัด สามารถแตกหักได้ง่ายเมื่อนำไปผ่านกระบวนการด้วยเครื่องมืองานไม้ โดยไม้ MDF มักมีราคาถูกกว่าไม้อัด ไม้ MDF อาจโค้งงอได้เมื่อต้องรับน้ำหนักมากเกินไปหรือโดนความชื้น เช่น หากคุณใช้ชั้นวางที่ทำจากไม้ MDF คุณควรเสริมความแข็งแรงของชั้นวางเพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นโค้งงอ อีกทั้งไม้ MDF ยังเหมาะแก่การใช้งานภายในบ้านมากกว่า เช่น ใช้ทำเป็นงานเฟอร์นิเจอร์ไม้

ไม้อัดมีเสี้ยนไม้วางขวางกันจึงมีความแข็งแรงเนื่องจากช่วยลดการขยายตัวและหดตัวของไม้เท่า ๆ กันทั้งสองทิศทาง นอกจากนี้การวางแผ่นไม้เป็นจำนวนคี่ยังทำให้แผ่นไม้มีความสมดุล ซึ่งแม้แต่ความเย็นก็ไม่อาจส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของไม้ได้ แต่เนื่องจากความชื้นสามารถส่งผลต่อความแข็งแรงของไม้อัด คุณจึงควรใช้ไม้อัดที่ใช้กาวสำหรับการใช้ภายนอกอาคาร โดยเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วตู้ที่ทำมาจากไม้อัดจะมีคุณภาพสูงกว่าตู้ที่ทำมาจากไม้ MDF เล็กน้อย

เมื่อมีการยิงสกรู ขอบของรูจะมีการแตกหักได้ง่าย  แต่เสี้ยนไม้ของไม้อัดที่วางขวางกันสามารถลดปัญหานี้ได้ การที่ไม้ MDF มีเสี้ยนไม้ที่ไม่ได้มีการจัดเรียงตัวกันจึงทำให้ตัดหรือนำไปผ่านกระบวนการได้ง่ายโดยที่เนื้อไม้ไม่หักหรือบิ่น นอกจากนี้ไม้ MDF ยังไม่มีตาไม้ ทำให้ง่ายต่อการตกแต่งผิวไม้และมีพื้นผิวที่เรียบเนียนจึงเหมาะกับการนำมาทำตู้ที่มีการทาสี  และยังเหมาะกับงานปิดผิววีเนียร์ และปิดผิวPVCอีกด้วย  แต่หากต้องการเพิ่มความแข็งแรงให้กับชิ้นงานขึ้นมาอีกสักหน่อยอาจเลือกใช้ไม้อัดแทนไม้ MDF และใช้การลงสีสำหรับชิ้นงาน

ข้อดีและข้อเสียของไม้อัดและไม้ MDF
เนื้อไม้ MDF มีความหนาแน่นที่สม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น ดังนั้นขอบที่ผ่านการตัดจึงมีความเรียบเนียนและไม่มีเสี้ยนไม้หลงเหลืออยู่ คุณสามารถใช้เครื่องเซาะร่องไม้เพื่อตกแต่งขอบไม้ให้มีความสวยงามได้ แต่ไม้ชนิดนี้มีความหนาแน่นมาก จึงมีความหนักและจัดการได้ยาก

ไม้อัดสามารถยึดติดกับสกรูได้แน่นเนื่องจากชั้นไม้แต่และชั้นมีใยไม้มากกว่า แต่นำมาตัดเป็นรูปทรงที่ซับซ้อนได้ยากกว่า

แหล่งที่มา

https://www.diffen.com/difference/MDF_vs_Plywood https://homeguides.sfgate.com/mdf-vs-plywood-cabinets-86202.html https://georgehill-timber.co.uk/blog/mdf-vs-plywood-for-projects

B05-opthouse_com-HMKK_LAYLA

บทความที่น่าสนใจ

Copyright © 2022 opthouse.com All Rights Reserved.

DESIGN by

สอบถามเพิ่มเติม คลิก!!